วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2551


กระบวนการ POST (Power-On-Self-Test)
Process POST (Power-On-Self-Test)กระบวนการ power on self test (POST) ของเมนบอร์ด คือ การตรวจสอบความพร้อมของระบบโดยรวมของตัวเมนบอร์ดและอุปกรณ์ที่สำคัญของระบบ ก่อนที่จะทำการ เริ่มระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ ถ้ากระบวนการ power on self test ทำงานได้ไม่สมบูรณ์ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตามจะไม่สามารถเริ่มระบบปฏิบัตการได้ (ระบบปฏิบัติการ หรือ Operatinng system คือส่วนของโปรแกรมระบบ เช่น วินโดว์ ดอส หรือ โอเอสทู ลีนุกส์ เป็นต้น)กระบวนการ Power on self test เรื่มเมือใด?กระบวนการ power on self test จะเริ่มทำงานทันทีทีทำการ เปิดสวิทซ์ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ (power on) แล้วจะเริ่มทำการตรวจสอบส่วนประกอบพิ้นฐานสำคัญต่างๆของคอมพิวเตอร์

1.เมื่อเปิดเครื่องกระแสไฟฟ้าจะกระตุ้นให้ซีพียูเริ่มทำงาน โปรแกรมถาวรที่ฝังภายในตัวซีพียูจะเริ่มทำงานโดยการล้างหน่วยความจำภายในซีพียู หรือที่เรียกกันว่า รีจิสเตอร์ (register) ให้ว่างเปล่า จากนั้นกำหนดให้ริจิสเตอร์ตัวหนึ่งที่ชื่อว่าโปรแกรมเคาร์เตอร์มีค่าตำแหน่งเฉพาะค่าหนึ่ง (program counter ทำหน้าที่จดจำหมายเลขหน่วยความจำที่จะทำการดึงคำสั่งโปรแกรมขึ้นมาทำงาน) โดยถ้าเป็นเครื่องรุ่นAT จะเริ่มทำงานที่แอดเดรสหรือตำแหน่งที่เลขฐานสิบหกที่ F000 ซึ่งเป็นตำแหน่งเริ่มต้นของโปรแกรมบูตนั่นเอง ข้อสังเกต เราจะใส่โปรแกรมบูต “ส่วนแรก” ลงในหน่วยความจำถาวรที่เรียกว่า รอม (ROM :Read-Only Memory ) และส่วนที่สองลงในแผ่นดิสก์ที่มีโอเอส ดังนั้นเมื่อปิดเครื่องโปรแกรมก็ยังคงไม่หายไปไหน เมื่อกลับมาเปิดเครื่องใช้ใหม่ ซีพียูก็จะสามารถอ่านโปรแกรมบูตนี้ได้เหมือนเดิม รอมที่ว่านี้อาจเรียกว่า ไบออส (BIOS : Basic Input/Output System) ก็ได้

2. ซีพียูใช้ตำแหน่งแอดเดรสที่อ้างอิงครั้งแรกนี้ เรียกคำสั่งแรกของโปรแกรมบูตของรอมไบออสขึ้นมา ซึ่งเท่ากับเป็นการเริ่มการบวนการ “โพสต์” โดยเริ่มแรกจะเป็นคำสั่งให้ซีพียูทำการตรวจสภาพตัวซีพียูเองว่าสมบูรณ์หรือไม่ จากนั้นโปรแกรมก็จสั่งให้ซีพียูลองย้อนกลับไปตรวจสอบโปรแกรมโพสต์ว่าถูกต้องหรือไม่ โดยการอ่านพื้นที่หลาย ๆ พื้นที่ของโปรแกรมภายในรอม แล้วลองเทียบกับตัวเลขที่ตอนบันทึกไว้ตั้งแต่ตอนเริ่มสร้างรอม

3. ซีพียูส่งสัญญาณไปทั่วระบบบัสเพื่อให้มั่นใจว่าชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ busคือ กลุ่มของสายไฟที่ใช้เป็นเส้นส่งถ่ายคำสั่งและข้อมูลระหว่างชิ้นส่วนหรือระหว่างซีพียูกับชิ้นส่วนต่าง ๆหรืออาจกล่าวว่า บัส หมายความว่า วงจรไฟฟ้าเชื่อมชิ้นส่วนที่สำคัญต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และทำให้ชิ้นส่วนเหล่านี้สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ )

4. ซีพียูทำการตรวจว่ามีโปรแกรมภาษาเบสิกอยู่หรือไม่ และสมบูรณ์หรือไม่ จากนั้นจะหันไปทำการตรวจสอบตัวกำเนิดสัญญาณนาฬิการ (timer) ซึ่งบางทีเราจะเรียกว่าคริสตัล (crytal) ทั้งนี้ให้มั่นใจว่าจะทำงานเพรียงกันได้อย่างสมบูรณ์ (ตัวกำเนิดสัญญาณนาฬิกาจะเป็นตัวกำหนด “จังหวะ” การทำงานของชิ้นส่วนต่าง ๆ รวมทั้งตัวซีพียู และเจ้าตัวนี้เองที่มีหน่วยเป็นเมกะเฮิรตซ์ (MHZ) เช่น เครื่อง 486-50 ก็มักหมายความว่าเป็นเครื่องพีซีที่ใช้คริสตัลความเร็ว 50 เมกะเฮิรตซ์ หรือทำงาน 50 ล้านจังหวะต่อวินาทีนั่นเอง )

5. ต่อมากระบวนการ “โพสต์” ก็จะทำการตรวจหน่วยความจำบนการ์ดแสดงผล (Monochrome, EGA,VGA ฯลฯ) และสัญญาณภาพ (video signal) เมื่อพบว่าสมบูรณ์ก็จะนำโปรแกรมไบออสที่อยู่บนการ์ดแสดงผลมาผนึกรวมเป็นส่วนหนึ่งของไบออสระบบและกำหนดคุณสมบัติให้กับหน่วยความจำ ถึงตอนนี้คุณจะเริ่มเห็นอะไรบางอย่างปรากฏที่จอมอนิเตอร์เป็นครั้งแรก

6. โพสต์จะทำการตรวจสอบหน่วยความจำหลักที่อยู่บนเมนบอร์ดซึ่งมักจะเป็นแรม (RAM) การทดสอบทำได้โดยการเขียนข้อมูลลงแรม แล้วทดสอบอ่านกลับดูว่าเหมือนกับข้อมูลที่เขียนลงไปในครั้งแรกหรือไม่ในช่วงนี้เองที่ผู้ใช้จะเห็นตัวเลขวิ่งที่หน้าจอ

7. ซีพียูตรวจว่ามีคีย์บอร์ดเสียบอยู่หรือไม่ และมีใครกดปุ่มคีย์ไหนค้างอยู่

8. โพสต์จะส่งสัญญาณไปยังบัสของดิสก์ไดร์ฟต่าง ๆ และฟังสัญญาณโต้กลับว่าไดร์ฟไหนพร้อมที่จะทำงาน9. สำหรับเครื่อง AT หรือเครื่องรุ่นใหม่ ๆ กระบวนการโพสต์จะทำการเปรียบเทียบผลการตรวจสอบอุปกรณ์กับข้อมูลที่บันทึกไว้ในซีมอส (CMOS) ถ้าข้อมูลไม่ต้องกับที่โพสต์ตรวจสอบมา โพสต์ก็อาจจะเข้าสู่โปรแกรมเซตอัปเพื่อให้เรากำหนดชนิดของอุปกรณ์ใหม่ (ซีมอสเป็นชนิดของชิปหน่วยความจำ มันสามารถเก็บข้อมูลได้นานตราบเท่าที่เราป้อนไฟเลี้ยงจากแบตเตอรี่ให้) อนึ่ง ข้อมูลภายในซีมอสจะไม่หายไปเมื่อมีการปิดไฟเครื่อง แต่จะหายไปได้ในกรณีที่เราใช้แบตเตอรี่มานาน แล้วแบตเตอรี่ไฟหมด (เครื่องพีซีรุ่น XTจะไม่มีหน่วยความจำซีมอสนี้)

10. บางเครื่องที่มีการใส่อุปกรณ์ที่มีไบออสของมันเอง เช่น การ์ดควบคุมดิสก์ชนิด SCSI (อ่านว่าสกัสซี่)โปรแกรมไบออสของการ์ดหรืออุปกรณ์เหล่านี้จะถูกจดจำและผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งของไบออสระบบ ก่อนที่เครื่องพีซีจะเข้าสู่ขั้นตอนต่อไปในการบูต ซึ่งเป็นการโหลดหรือบรรจุโอเอสจากดิสก์ลงสู่หน่วยความจำ

วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2551


Bios(ไบออส)

Bios (ไบออส) นั้นก็คือ ระบบพื้นฐานที่ใช้ในการควบคุมระบบ input output ของคอมพิวเตอร์ หรือเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Basic Input Output System เมื่อนำตัวอักษรข้างหน้ามาวางต่อกันแล้ว ก็จะได้คำว่า BIOS นั้นเอง
Bios (ไบออส) นั้นมีความสำคัญกับระบบคอมพิวเตอร์อย่างมาก เรียกได้ว่าไม่มีไม่ได้ เพราะเมื่อเรากดปุ่มเปิดเครื่อง ระบบก็จะเริ่มต้นที่ Bios (ไบออส) นี้แหละ โดยโครงสร้างหลักๆ ของเจ้า BIOS (ไบออส) นั้นมีส่วนประกอบหลักๆ อยู่สองอย่างคือ…
ตัวโปรแกรมของไบออส จะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำแบบ ROM เพราะจำได้นานไม่มีลืมเหมือนกับ RAM ทำให้เราสามารถเรียกใช้เจ้า BIOS ได้ทันทีเมื่อเปิดเครื่อง แต่เราไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปใน ROM ได้
ส่วนตัวข้อมูลจะถูกเก็บไว้ที่ CMOS RAM เป็นหน่วยความจำชนิดหนึ่งที่สามารถเขียนไฟล์ทับได้ คล้ายกับ RAM แต่ต้องใช้ไฟเลี้ยง ถ้าไม่มีไฟ ระบบจะลืมข้ออมูลทันที โดยไฟที่ว่านี้มาจากก้อนแบตเตอรี่เล็กติดอยู่บนเมนบอร์ด ถ้าแบตเตอรี่นี้หมด เครื่องก็จะมีปัญหา
ในโปรแกรม BIOS มีหน้าจอให้เรากำหนดค่าต่างๆ เพื่อใช้กำหนดค่าเริ่มต้นของคอมพิวเตอร์เรา เช่นให้บูตระบบจากซีดีรอมก่อนหรือจากฮาร์ดดิสก่อน กำหนดวันเวลา เป็นต้น นอกจากหน้าที่แม่บ้านแล้ว BIOS ยังมีหน้าที่อื่นๆ ที่มีความสำคัญอีกเช่น กำหนดการทำงานของซีพียู เป็นตัวเชื่อมและสนับสนุนการทำงานพื้นฐานของซอฟท์แวร์ที่เราติดตั้ง

การบูตเครื่องคอมพิวเตอร์

บูต (Boot) ก็คือ การเตรียมความพร้อมในการใช้คอมพิวเตอร์ มีการตรวจสอบสถานะของเครื่อง การบอกรายละเอียดต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ บอกว่ามี RAM เท่าไร BUS อะไรบ้าง CPU ของเรามีความเร็วเท่าไรเป็นต้นพูดง่าย ๆ ว่าเป็นการเตรียมความพร้อมนั่นเอง โดยการบูตเครื่องจะมีโปรแกรม BIOS ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนาไปหลาย version แล้ว เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
การบูตเครื่องมี 2 ประเภท คือ
1. Cold Boot คือ การเปิดสวิตซ์ (ปุ่ม Power ด้านหน้า Case นั่นเอง) ซึ่งปิดอยู่ก่อนแล้วเพื่อเริ่มต้นการใช้งาน
2. Warm Boot คือ การ reboot โดยอาจกดปุ่มสวิตซ์ (ปุ่ม Power) เพื่อดับไฟหรือกดปุ่ม reset (ปุ่มเล็ก ๆ ด้านหน้า Case นั่นเอง) หรือกดปุ่ม Ctrl+Alt+Del บนคีย์บอร์ด เพื่อพักการใช้งานชั่วเวลาหนึ่ง

วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2551

เทคโนโลยีใหม่ๆ


อัสซุส ส่งF8 Series บุกตลาด
รายงานข่าวแจ้งว่า บริษัท อัสซุสเทค คอมพิวเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด แนะนำ โน้ตบุ๊ก อัสซุส F8 Series ขนาดจอ 14.1 นิ้ว ประมวลผลกราฟิกแบบ 3D พร้อมกล้องเว็บแคม 1.3 ล้านพิกเซล มี 5 เฉดสี ให้เลือก ได้แก่ ดำ ขาว ชมพู น้ำเงิน และแดง สำหรับผู้สนใจพบกับโน้ตบุ๊กอัสซุส F8 Series ได้แล้ววันนี้ที่ร้านค้าตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ ทั้งนี้ราคาเริ่มต้นที่ 34,900 บาท (ราคานี้ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ข่าวจาก : ไทยรัฐ
วันที่ : 20 กันยายน 2551 เวลา 03:53 น.


.....................................................................
ไอพ็อดรองรับภาษาไทยแล้วจ้า
แอปเปิลเปิดตัวไอพ็อด (iPod) เครื่องเล่นเพลง MP3 รุ่นใหม่พร้อมภาษาไทย ขายแล้วทุกรุ่นยกเว้นไอพ็อดทัชที่จะวางขายในสัปดาห์หน้า โดยแอปเปิลบอกอย่างมั่นใจว่าไม่ช้าเกินไปที่เพิ่งพัฒนาให้ไอพ็อดรองรับภาษาไทยในตอนนี้


แอปเปิลเปิดตัวราคาจำหน่ายไอพ็อดรุ่นใหม่ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ โดยไอพ็อดชัฟเฟิล (shuffle) รุ่น 1GB ปรับราคาเหลือ 2,290 บาท รุ่น 2GB ราคา 3,190บาท

ส่วนไอพ็อดนาโน (Nano) รุ่น 8GB และ 16 GB ราคา 6,290 บาท และ 8,290 บาทตตามลำดับ

ขณะที่ไอพ็อดคลาสสิก (classic) รุ่น 120GB เคาะราคาที่ 9,990 บาท เรียกว่าจ่ายหนึ่งหมื่นบาทแอปเปิลจะทอนให้ 10 บาท

สำหรับไอพ็อดทัช (touch) รุ่น 8GB แอปเปิลตั้งราคาไว้ที่ 8,890 บาท รุ่น 16GB ราคา 11,490 บาท รุ่น 32GB 15,290 บาท

สำหรับชุดหูฟังที่มีพร้อมไมโครโฟนเพื่อใช้งานร่วมกับฟังก์ชันบันทึกเสียงในไอพ็อดนาโนและไอพ็อดทัชนั้น รุ่นเอียร์โฟน (Ear phone) ธรรมดาแอปเปิลจำหน่ายในราคา 1,498 บาท แต่รุ่นอินเอียร์ (In-Ear) ที่มีคุณภาพเสียงดีกว่า จะวางจำหน่ายในราคา 2,900 บาท โดยจะเริ่มวางจำหน่ายในเดือนตุลาคมนี้

โดย ผู้จัดการออนไลน์
18 กันยายน 2551 14:27 น.

.....................................................................


วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2551

ประวัติความเป็นมาและคุณสมบัติของUnixและlinuk


ความเป็นมาของระบบปฏิบัติการ UNIX
ย้อนหลังไปในช่วงทศวรรษที่ 1940 และ 1950 เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่มีในโลกอาจกล่าวได้ว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เนื่องจากระบบปฏิบัติการของเครื่องอนุญาตให้ผู้ใช้ใช้งานเครื่องได้เพียงครั้งละคนเดียว ดังนั้นผู้ใช้ที่มีความประสงค์จะใช้เครื่องต้องทำการจองเวลาใช้เครื่องไว้ล่วงหน้า เมื่อถึงเวลาที่จองไว้ผู้ใช้นั้นจะได้เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นแต่เพียงผู้เดียวตลอดระยะเวลาที่จองไว้ ผู้ใช้อื่นไม่สามารถใช้งานเครื่องอีกได้ และโดยทั่วไปในระหว่างการใช้งาน ผู้ใช้ไม่ได้ใช้งานหน่วยประมวลผลกลางเต็มกำลัง เพราะอาจต้องหยุดคิดแก้ปัญหา หรือป้อนข้อมูลเข้าเครื่องซึ่งใช้ความสามารถของเครื่องน้อยมาก จึงกล่าวได้ว่าผู้ใช้งานนั้นไม่ได้ใช้เครื่องจนเต็มขีดความสามารถตลอดเวลา เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์ในยุคนั้นมีราคาแพงจึงเกิดแนวความคิดที่จะสร้างระบบปฏิบัติการที่ผู้ใช้สามารถใช้งานเครื่องได้เต็มกำลังตลอดเวลาโดยการให้ผู้ใช้แต่ละคนเตรียมงานไว้ล่วงหน้าโดยใช้บัตรเจาะรู เมื่อมีปริมาณของงานมากถึงระดับหนึ่งจึงจะเดินเครื่องและทำการอ่านงานเหล่านั้นเข้าไปประมวลผลต่อเนื่องกันไป ระบบปฏิบัติการเช่นนี้เรียกว่าระบบการประมวลผลแบบ batch ระบบนี้ช่วยให้ใช้งานเครื่องได้โดยมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม แต่อย่างไรก็ดีสำหรับผู้เขียนโปรแกรมแล้วระบบเช่นนี้ยังมีการตอบสนองไม่ดีนัก กล่าวคือเมื่อผู้เขียนโปรแกรมนำโปรแกรมต้นฉบับซึ่งอยู่ในรูปของบัตรเจาะรูไปส่งที่ห้องเครื่อง แล้วต้องรอเป็นระยะหนึ่งกว่าจะทราบผลการดำเนินการ ภายใต้ภาวะการณ์เช่นนี้การตรวจสอบและแก้ไขโปรแกรม (debugging) จึงเป็นกระบวนการที่กินเวลามาก หากผู้เขียนโปรแกรมลืมใส่เครื่องหมายวรรคตอนเพียงตัวเดียวผู้เขียนโปรแกรมต้องใช้เวลานานหลายชั่วโมงกว่าทราบความผิดพลาดนั้นและทำการแก้ไข ทำให้การพัฒนางานล่าช้า ดังนั้นผู้เขียนโปรแกรมโดยทั่วไปจึงต้องการระบบปฏิบัติการที่มีการตอบสนองเร็วเพื่อให้สามารถตรวจสอบแก้ไขโปรแกรมได้ดียิ่งขึ้น
จากความต้องการดังกล่าวนี้เองจึงมีการคิดระบบปฏิบัติการแบบ timesharing ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้หลายคนสามารถใช้เครื่องในเวลาเดียวกันได้ โดยอาศัยการแบ่งเวลาของหน่วยประมวลผลกลางให้แก่ผู้ใช้เวียนกันไป ระบบ timesharing ที่ประสบความสำเร็จเกิดขึ้นที่ Dartmouth College และที่ Massachusetts Institute of Technology (M.I.T.) โดยระบบของ Dartmouth College เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้สนับสนุนการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา BASIC เพียงอย่างเดียวและประสบความสำเร็จในการใช้งานทางธุรกิจในระยะหนึ่ง ส่วนระบบปฏิบัติการของ M.I.T. มีชื่อเรียกว่าระบบ CTSS เป็นระบบที่ได้รับการออกแบบเพื่อให้เป็นระบบปฏิบัติการเอนกประสงค์ และประสบความสำเร็จสูงกว่าโดยเฉพาะในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ หลังจากระบบ CTSS ประสบความสำเร็จแล้วไม่นาน M.I.T., Bell Labs และบริษัท General Electric ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ ได้ร่วมกลุ่มกัน เพื่อทำการวิจัยและออกแบบระบบปฏิบัติการแบบ timesharing ใหม่ให้มีความสามารถมากขึ้น และกำหนดชื่อระบบปฏิบัติใหม่เป็น MULTICS (MULTiplexed Information and Computing Service)
ระบบปฏิบัติการ MULTICS ไม่ทำงานตามที่คณะผู้ทำงานหวังไว้ เนื่องจากระบบได้รับการออกแบบให้สามารถรองรับผู้ใช้ได้หลายร้อยคนบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลกลางซึ่งมีความสามารถสูงกว่า หน่วยประมวลผลกลางแบบ 80286 ในปัจจุบันเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ดีแนวความคิดดังกล่าวนี้เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ในยุคนั้นเนื่องจากเป็นระยะเริ่มต้นของการใช้คอมพิวเตอร์ โปรแกรมที่เขียนขึ้นใช้งานส่วนใหญ่เป็นโปรแกรมขนาดเล็ก สาเหตุที่แท้จริงของความล้มเหลวของโครงการนี้มีมากมายเช่นในการออกแบบระบบกำหนดให้มีการใช้ภาษาระดับสูงคือภาษา PL/I ซึ่งเป็นภาษาที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและมีการพัฒนาล่าช้ากว่ากำหนดการที่กำหนดไว้มากและมีข้อบกพร่องมากมาย นอกจากนี้แล้วยังมีการนำความคิดที่ล้ำสมัยหลายอย่างมาใช้ในขณะที่เทคโนโลยียังไม่พร้อม ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้โครงการนี้ไม่ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกับการพัฒนางานของ Charles Babbage ในสมัยศตวรรษที่ 19
เมื่อสิ้นระยะแรกของโครงการ ห้องปฏิบัติการ Bell ถอนตัวออกจากโครงการ ทำให้นักวิจัยคนหนึ่งในโครงการนี้คือ Ken Thompson ซึ่งว่างงานอยู่เริ่มหาแนวทางในการทำวิจัยต่อไป ในที่สุดตัดสินใจที่จะทำการเขียนระบบปฏิบัติการ MULTICS แบบย่อส่วนขึ้นโดยใช้ภาษา Assembly โดยใช้เครื่องมินิคอมพิวเตอร์รุ่น PDP-7 ซึ่งว่างอยู่ในขณะนั้น ระบบปฏิบัติการของ Thompson สามารถทำงานได้เป็นอย่างดี ระบบปฏิบัติการนี้นักวิจัยอีกคนหนึ่งของห้องปฏิบัติการ Bell คือ Brian Kernighan ตั้งชื่อให้ว่า UNICS หรือ Uniplexed Information and Computing Service เพื่อเป็นการล้อเลียนโครงการ MULTICS และต่อมาได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น UNIX



คุณสมบัติของระบบUNIX
Softwere tool
- โปรแกรมบนUNIX จะแบ่งตัวเองออกเป็นส่วนย่อยๆและสามารถใช้งานส่วนย่อยเหล่านั้นร่วมกัน ระหว่างหลายๆโปรแกรมได้
portability
- เนื่องจาก UNIX สามารถนำไปใช้กับเครื่องแบบต่างๆได้มากมาย โปรแกรมที่ใช้งานบนUNIXจะสามารถนำไปใช้ได้ด้วยเช่นเดียวกัน
flexibility
- UNIX จะมีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง สามารถนำไปใช้งานกับงานเล็กๆหรืองานใหญ่ๆก็ได้
power
- สามารถทำงานที่ซับซ้อนได้ดี และมีความสามารถในด้านต่างๆมากกว่าระบบปฏิบัติการอื่นๆ
multi – user & multitasking
- สามารถมีผู้ใช้งานได้ทีละหลายๆคน และทำงานหลายๆอย่างพร้อมกัน
Elegance
- หลักการทำงานของส่วนต่างๆจะเหมือนกันดังนั้นเมื่อผู้ใช้ทำงานส่วนหนึ่งได้ ก็จะเรียนรู้และใช้งานส่วนอื่นๆได้ง่าย
network orientation
- UNIXเป็นระบบปฏิบัติการที่สนับสนุนการใช้งานเครือข่ายโดยเฉพาะเครือข่าย TCP/IP ซึ่งใช้ในระบบ Internet




ประวัติของ Linux

ลีนุกซ์ถือกำเนิดขึ้นในฟินแลนด์ ปี คศ. 1980 โดยลีนุส โทรวัลด์ส (Linus Trovalds)
นักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) ในมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ

ลีนุส เห็นว่าระบบมินิกซ์ (Minix) ที่เป็นระบบยูนิกซ์บนพีซีในขณะนั้น ซึ่งทำการพัฒนา
โดย ศ.แอนดรูว์ ทาเนนบาวม์ (Andrew S. Tanenbaum) ยังมีความสามารถไม่เพียงพอ
แก่ความต้องการ จึงได้เริ่มต้นทำการพัฒนาระบบยูนิกซ์ของตนเองขึ้นมา โดยจุด
ประสงค์อีกประการ

คือต้องการทำความเข้าใจในวิชาระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ด้วย
เมื่อเขาเริ่มพัฒนาลีนุกซ์ไปช่วงหนึ่งแล้ว เขาก็ได้ทำการชักชวนให้นักพัฒนา
โปรแกรมอื่นๆมาช่วยทำการพัฒนาลีนุกซ์ ซึ่งความร่วมมือส่วนใหญ่ก็จะเป็นความ
ร่วมมือผ่านทางอินเทอร์เนต

ลีนุสจะเป็นคนรวบรวมโปรแกรมที่ผู้พัฒนาต่างๆได้ร่วมกันทำการพัฒนาขึ้นมาและ
แจกจ่ายให้ทดลองใช้เพื่อทดสอบหาข้อบกพร่อง ที่น่าสนใจก็คืองานต่างๆเหล่าน
ี้ผู้คนทั้งหมดต่างก็ทำงานโดยไม่คิดค่าตอบแทน และทำงานผ่านอินเทอร์เนตทั้งหมด

ปัจจุบันเวอร์ชันล่าสุดของระบบลีนุกซ์ที่ได้ประกาศออกมาคือเวอร์ชัน 2.0.13
ข้อสังเกตในเรื่องเลขรหัสเวอร์ชันนี้ก็คือ ถ้ารหัสเวอร์ชันหลังทศนิยมตัวแรก
เป็นเลขคู่เช่น 1.0.x,1.2.x เวอร์ชันเหล่านี้จะถือว่าเป็นเวอร์ชันที่เสถียรแล้วและ
มีความมั่นคงในระดับหนึ่ง แต่ถ้าเป็นเลขคี่เช่น 1.1.x, 1.3.x จะถือว่าเป็น
เวอร์ชันทดสอบ ซึ่งในเวอร์ชันเหล่านี้จะมีการเพิ่มเติมความสามารถใหม่ๆลงไป
และยังต้องทำการทดสอบหาข้อผิดพลาดต่างๆอยู่


คุณสมบัติของระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ - Linux

มัลติทาสกิ้ง (Multi-tasking) คือ ทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกันได้ในเวลาเดียวกัน ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการรอ โดยแบ่งการทำงานออกเป็น Foreground และ Background

มัลติยูสเซอร์ (Multi-user) Unix สามารถรองรับผู้ใช้ได้มากกว่า 1 คนในเวลาเดียวกันหรือพูดง่ายๆ ก็คือ ใช้งานได้หลายคนพร้อมกันนั่นเอง

ป็นระบบปฏิบัติการแบบหลายงาน และหลายผู้ใช้ (Multitasking & Multiuser) ที่สมบูรณ์แบบ ทำให้สามารถมีผู้ใช้งานพร้อมๆ กัน ได้หลายๆ คน และแต่ละคนก็
สามารถรันโปรแกรมได้หลายๆ โปรแกรมพร้อมๆ กัน

มีความเข้ากันได้ (Compatible) กับระบบ UNIX ส่วนมากในระดับ Source Code
ความสามารถในการสลับหน้าจอระหว่าง Login sessions ต่างๆ บนหน้าจอคอนโซล
ในเท็กซ์โหมดได้ (Pseudo Terminal, Virtual Console)

สนับสนุนระบบไฟล์หลายชนิด เช่น Minix-1, Xenix, ISO-9660, NCPFS,
SMBFS, FAT16, FAT32, NTFS, UFS เป็นต้น

สนับสนุนเครือข่าย TCP/IP ตลอดจนมีโปรแกรมไคลเอ็นต์ และเซิร์ฟเวอร์
สำหรับบริการต่างๆ ในอินเทอร์เน็ตทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น FTP, Telnet, NNTP,
SMTP, Gopher, WWW

Kernal ของ Linux มีความสามารถในการจำลองการทำงานของ
Math Processor 80387 ทำให้สามารถรันโปรแกรม ที่ต้องการใช้งานคำสั่ง
เกี่ยวกับ floating-point ได้

Kernal ของ Linux สนับสนุน Demand-Paged loaded executable คือ
ระบบจะเรียกใช้โปรแกรม เท่าที่จะใช้งานเท่านั้น จากดิสก์สู่หน่วยความจำ
เป็นการใช้หน่วยความจำอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการใช้หน่วยความจำ
ส่วนเดียว กับขบวนการหลายๆ ขบวนการพร้อมๆ กัน (Shared copy-on-write pages

สนับสนุน swap space มากถึง 2 GB ทำให้มีหน่วยความจำใช้งานมากขึ้น
จึงรัน Application ขนาดใหญ่ได้ และมีผู้ใช้งานได้พร้อมกันมากขึ้น

Kernal มีระบบ Unified Memory Pool สำหรับโปรแกรมและ Cache
ทำให้ Cache ปรับเพิ่ม-ลดขนาดได้โดยอัตโนมัติ ขณะที่มีการเรียกใช้
หรือไม่ใช้โปรแกรมใดๆ

โปรแกรมที่รันมีการใช้งาน Library ร่าวมกัน (Dynamically
Linked Shared Libraries) ทำให้โปรแกรมมีขนาดเล็ก และทำงานเร็ว

สนับสนุนการดีบัก (Debug) โปรแกรม และหาสาเหตุที่ทำให้โปรแกรม
ทำงานผิดพลาดได้

จากจุดเด่นนี้ทำให้พบว่าในปัจจุบันเรานิยมใช้ Unix เป็นระบบปฏิบัติการของเครื่อง Internet Server กันมาก



วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2551

น้องโบว์

คิดถึงคนอยูไกล
เมื่อไหร่จะได้เจอน้า